บท

การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร?

การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาคู่เงินฟอเร็กซ์หนึ่งๆ หรือสินทรัพย์ CFD เพื่อค้นหาสิ่งบ่งชี้ทิศทางราคาในอนาคต โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะพยายามคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตโดยการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานในอดีต เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นในการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์เมื่อเวลาผ่านไป

หลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ตลาดหักลบทุกอย่าง
นักวิเคราะห์ทางเทคนิคสันนิษฐานว่า ณ เวลาใดก็ตาม ราคาหุ้นจะสะท้อนถึงทุกสิ่งที่มีหรืออาจส่งผลกระทบต่อคู่เงินหรือสินทรัพย์ CFD หนึ่ง ซึ่งรวมถึงปัจจัยพื้นฐานด้วย ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ทางเทคนิคเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ควบคู่ไปกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กว้างขึ้นและจิตวิทยาของตลาด ล้วนมีส่วนต่อราคา นี่จึงทำให้จำเป็นต้องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา

ราคาขยับตามเทรนด์
ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นไปตามเทรนด์ ซึ่งหมายความว่าหลังจากมีเทรนด์เกิดขึ้นแล้ว การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะไปในทิศทางเดียวกับเทรนด์มากกว่าที่จะสวนทาง ซึ่งกลยุทธ์การเทรดทางเทคนิคส่วนใหญ่ใช้สมมติฐานนี้

ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอย
แนวคิดที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมในรูปแบบปกติที่พอจะคาดเดาได้ รูปแบบเหล่านี้ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคา เรียกว่าสัญญาณ เป้าหมายของนักวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการค้นหาสัญญาณของตลาดในปัจจุบันและวางสถานะตามนั้น

ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกราฟ
หลักการพื้นฐานที่สุดของการวิเคราะห์ทางเทคนิค คือราคาจะสะท้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยจึงไม่จำเป็นต้องรวมอยู่ในการวิเคราะห์ ตรรกะพื้นฐานตรงนี้คือการเคลื่อนไหวของราคาส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ ดังนั้นตัวแปรของตลาดทั้งหมดจึงสะท้อนให้เห็นในการเคลื่อนไหวของราคา และเนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีนิสัย รูปแบบบางอย่างจึงมีแนวโน้มที่จะซ้ำรอยในตลาด

กราฟราคา
ผู้เทรดด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคต้องอาศัยกราฟราคา กราฟปริมาณ (วอลุ่ม) และข้อมูลทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ของข้อมูลตลาด หรือที่เรียกว่าข้อมูลชี้วัดหรืออินดิเคเตอร์ เพื่อพยายามคาดการณ์จุดเข้าและออกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานะของตน ข้อมูลชี้วัดบางตัวสามารถช่วยเทรดเดอร์ในการระบุเทรนด์ ขณะที่บางตัวช่วยระบุความแข็งแรงและความยั่งยืนของเทรนด์เมื่อเวลาผ่านไป ประเภทกราฟยอดนิยม ได้แก่:

– กราฟแท่งเทียน

แทนที่จะเป็นแค่แท่งธรรมดา แท่งเทียนแต่ละแท่งจะแสดงราคาสูงสุด ต่ำสุด ราคาเปิดและปิดในช่วงเวลาที่แสดง รูปแบบแท่งเทียนเป็นประเภทกราฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากให้ข้อมูลและรายละเอียดแก่เทรดเดอร์ได้มากกว่า

– กราฟแท่ง

ประเภทกราฟที่แสดงการเคลื่อนไหวของราคาที่พบบ่อยที่สุด แต่ละแท่งแสดงถึงช่วงเวลาหนึ่ง – “ช่วงเวลา” สั้นสุดที่ 1 นาทีหรือนานที่สุดที่ 1 เดือน เมื่อเวลาผ่านไป กราฟแท่งสามารถเปิดเผยรูปแบบราคาที่แตกต่างกันได้

– กราฟเส้น

กราฟเส้นเป็นประเภทกราฟที่เรียบง่ายที่สุด โดยจะแสดงเส้นโค้ง ซึ่งแสดงราคาปิดของช่วงระยะเวลาหนึ่ง กราฟเส้นยังสามารถอิงตามราคากลาง ราคาเปิด ราคาต่ำสุดหรือสูงสุดได้อีกด้วย

การระบุเทรนด์
เทรดเดอร์ใช้กราฟเพื่อค้นหารูปแบบราคาซึ่งโดยพื้นฐานแล้วคือรูปแบบของตลาดหรือ “อารมณ์” ของตลาด เคล็ดลับคือการจับจุดได้ว่าอารมณ์ของตลาดในปัจจุบันเป็นอย่างไร และที่สำคัญกว่านั้น คืออารมณ์นี้จะอยู่นานแค่ไหน เพื่อช่วยระบุรูปแบบที่สำคัญเหล่านี้ BDSwiss ได้จัดเตรียมชุดเครื่องมือสร้างกราฟให้กับเหล่าเทรดเดอร์ เครื่องมือเหล่านี้มีตั้งแต่เส้นแนวรับแนวต้านไปจนถึงเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคจำนวนมากซึ่งนำไปใช้กับกราฟได้โดยตรงในแบบเรียลไทม์

การใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิค
โดยปกติ ในกราฟราคาการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะมีการศึกษาโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดทางเทคนิคเป็นส่วนเสริมที่ติดตั้งโปรแกรมทางสถิติไว้ในส่วนของแพลตฟอร์มเทรดที่ประมวลผลและแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาหรือการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตโดยประมาณเพื่อช่วยในการคาดเดาราคา

ประเภทของตัวชี้วัดทางเทคนิค
ตัวชี้วัดสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทที่แตกต่างกันตามลักษณะทั่วไป ซึ่งก็คือตัวชี้วัดราคา ปริมาณ และออสซิลเลเตอร์ ตัวชี้วัดราคาช่วยคุณในการวัดเทรนด์การเคลื่อนไหวของราคาโดยรวม ตัวชี้วัดปริมาณช่วยวัดความเชื่อมั่นของตลาด ขณะที่ตัวชี้วัดออสซิลเลเตอร์จะช่วยคุณระบุระดับที่เทรนด์โดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไป

การวางรากฐานการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีตัวชี้วัดทางเทคนิคหลายร้อยตัวที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนพื้นฐานได้ นี่ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีขนาดใหญ่และหลากหลาย ในขณะที่เทรดเดอร์จะทดลองใช้ตัวชี้วัดแบบต่างๆ และลงเอยที่กลยุทธ์การเทรดที่เฉพาะเจาะจง แต่สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าไม่เคยมีการพบตัวชี้วัดตัวใดที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในตัว